สัตว์ทุกชนิดสิ่งมีชีวิตทุกอย่างมันก็มีคุณค่ากับระบบนิเวศมีคุณค่าต่อโลกใบนี้ แล้วมันก็มีสิทธิ์ที่จะอยู่บนโลกใบนี้ ถ้าเรารักษาป่าให้มันมีชีวิตอยู่ในธรรมชาติของมันได้แสดงว่าเรายังมีธรรมชาติที่ดี เหลือพอสมควรที่จะจุนเจือสังคมมนุษย์ของเราได้.
ชื่อสามัญ Green Peafowl, ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Pavo muticus เป็นนกขนาดใหญ่ ในวงศ์ไก่ฟ้า ไก่ป่าและนกกระทา ที่มีขนสีสันสวยงาม ในเพศผู้มีขนคลุมหางยื่นยาวเลยขนหางออกไปมีลักษณะเป็นจุดตาที่ปลายเรียกว่า แววมยุรา ใช้สำหรับรำแพนเกี้ยวพาราสีเพศเมียในฤดูผสมพันธุ์
ในโลกนี้มีนกยูงในจีนัส Pavo สองชนิด ได้แก่ นกยูงอินเดีย (India Peafowl; Blue Peafowl: Pavo cristatus) ซึ่งมีขนาดเล็กกว่านกยูงเขียวหรือนกยูงไทย มีหงอนรูปร่างคล้ายพัดจีน เพศผู้มีขนบริเวณคอลงไปถึงหน้าอกสีน้ำเงินโดดเด่น ขนปีกมีลักษณะลายขาวสลับดำ ส่วนเพศเมียมีขน บริเวณคอสีเขียวและจางลงจนเป็นสีขาวเมื่อถึงบริเวณอก มีขนปีกสีน้ำตาลอ่อน มีการกระจายในพื้นที่แถบบังคลาเทศ ภูฎาน อินเดีย เนปาล ปากีสถานและศรีลังกา
ส่วนนกยูงไทยสูงใหญ่กว่าเล็กน้อย ขนหงอนตั้งตรงรวมกันเป็นกระจุกใหญ่ เพศผู้และเพศเมียมีลักษณะคล้ายกัน โดยมีขนบริเวณคอลงมาถึงอกสีเขียวทองเรียงซ้อนกันคล้ายเกล็ดปลา ขนปีกสีน้ำเงินและดำ มีการกระจายแยกจากนกยูงอินเดียอย่างชัดเจน โดยพบในพื้นที่ประเทศ กัมพูชา จีน อินโดนีเซีย ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม โดยในอดีตเคยพบใน บังคลาเทศ อินเดีย และมาเลเซีย แต่ปัจจุบันสูญพันธุ์ไปจากประเทศดังกล่าวแล้ว
นกยูงได้รับการยกย่องว่าเป็นราชินีแห่งนก แสดงความสมบูรณ์ของธรรมชาติ และแสดงวความสูงศักดิ์ เป็นตัวแทนความรัก และพาหนะของเทพเจ้า
วรรณคดีจำนวนมากมักจะนำนกยูงไปใช้เพื่อแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติป่าไม้ และแสดงถึงความสวยงามของนกยูง เช่น พระอภัยมณี ขุนข้างขุนแผน บทกลอน
ความเชื่อที่ว่านกยูงจะปรากฎให้เห็นในภาวะที่บ้านเมืองมีสุข เจริญรุ่งเรือง ทำให้มีการนำลักษณะและการเคลื่อนไหวมาใช้ในการร่ายรำประกอบพิธีกรรมอันเป็นสิริมงคล
ชาวล้านนาทั่วไปมีความนิยมการนำสัญลักษณ์รูปนกยูงมาใช้ตกแก่งในงานประเพณี งานศิลปกรรม และงานสถาปัตยกรรมล้านนา เพื่อความเป็นศิริมงคล และสวยงาม
กลุ่มนกยูงในพื้นที่จังหวัดพะเยา ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยภูนาง และพื้นที่เขตพันธุ์รักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ พบในป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ทุ่งหญ้า ชายป่า
นกยูงได้รับการยกย่องว่าเป็นราชินีแห่งนก แสดงความสมบูรณ์ของธรรมชาติ และแสดงวความสูงศักดิ์ เป็นตัวแทนความรัก และพาหนะของเทพเจ้า
วรรณคดีจำนวนมากมักจะนำนกยูงไปใช้เพื่อแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติป่าไม้ และแสดงถึงความสวยงามของนกยูง เช่น พระอภัยมณี ขุนข้างขุนแผน บทกลอน
ความเชื่อที่ว่านกยูงจะปรากฎให้เห็นในภาวะที่บ้านเมืองมีสุข เจริญรุ่งเรือง ทำให้มีการนำลักษณะและการเคลื่อนไหวมาใช้ในการร่ายรำประกอบพิธีกรรมอันเป็นสิริมงคล
ชาวล้านนาทั่วไปมีความนิยมการนำสัญลักษณ์รูปนกยูงมาใช้ตกแก่งในงานประเพณี งานศิลปกรรม และงานสถาปัตยกรรมล้านนา เพื่อความเป็นศิริมงคล และสวยงาม
กลุ่มนกยูงในพื้นที่จังหวัดพะเยา ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยภูนาง และพื้นที่เขตพันธุ์รักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ พบในป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ทุ่งหญ้า ชายป่า
นกยูงได้รับการยกย่องว่าเป็นราชินีแห่งนก แสดงความสมบูรณ์ของธรรมชาติ และแสดงวความสูงศักดิ์ เป็นตัวแทนความรัก และพาหนะของเทพเจ้า
วรรณคดีจำนวนมากมักจะนำนกยูงไปใช้เพื่อแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติป่าไม้ และแสดงถึงความสวยงามของนกยูง เช่น พระอภัยมณี ขุนข้างขุนแผน บทกลอน
ความเชื่อที่ว่านกยูงจะปรากฎให้เห็นในภาวะที่บ้านเมืองมีสุข เจริญรุ่งเรือง ทำให้มีการนำลักษณะและการเคลื่อนไหวมาใช้ในการร่ายรำประกอบพิธีกรรมอันเป็นสิริมงคล
นกยูงในพื้นที่จังหวัดพะเยาตอนบนเป็นกลุ่มนกยูงแถบลุ่มแม่น้ำอิง และกลุ่มตอนล่างเป็นนกยูงในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำยม กระจายตัวอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์สำคัญ 3 แห่ง ได้แก่ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทับพญาลอที่ตั้งอยู่บนสุดของจังหวัดพะเยา มีอาณาเขตบางส่วนอยู่ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอตั้งอยู่ตอนกลาง ของจังหวัดพะเยามีพื้นที่ตอนล่างเชื่อต่อกับอุทยานแห่งชาติดอยภูนาง และอุทยานแห่งชาติดอยภูนางซึ่งตอนบนมีแนวเขตติดต่อกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ และตอนล่างติดต่อกับอุทยานแห่งชาติแม่ยมจังหวัดแพร่
ถิ่นที่อยู่ของนกยูงเขียวหรือนกยูงไทย ตั้งแต่ประเทศเวียดนาม พม่า อินโดนีเซีย จีน กัมพูชา และทางตะวันตกของไทย มีการรายงานถิ่นที่อยู่ของนกยูงหลายประเภท แต่โดยส่วนมากจะพบในป่าผลัดใบ ซึ่งเป็นป่าโปร่ง มีหญ้าค่อนข้างทึบ มีไม้ยืนต้นขึ้นประปราย เช่น ในป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณ นอกจากนี้ยังสามารถพบได้ในป่าดิบแล้วง ป่าสน ป่าไผ่ หาดทรายริมน้ำ ทุ่งหญ้า ไปจนถึงพื้นที่เกษตรกรรม
สำหรับนกยูงในพื้นที่จังหวัดพะเยา จากการศึกษาโดย สิริรักษ์ อารทรากร ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยภูนาง และ กาญจน์ สฤษดิ์นิรันดร์ ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ พบว่าสามารถพบนกยูงได้ในป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ทุ่งหญ้า และพื้นที่เกษตรกรรมติดกับชายป่า โดยจะพบหนาแน่นในพื้นที่ป่าเต็งรัง
นกยูงเขียวจัดเป็นนกในกลุ่มนกกินเมล็ดพืช อาหารส่วนใหญ่จึงเป็นเมล็ดพืช รวมทั้งพืชผลทางการเกษตรที่อยู่ติดชายป่า นอกจากนี้ยังพบว่า กินลูกไม้ขนาดเล็กหลายชนิด รวมไปถึงส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น ใบอ่อน หน่อ ยอดราวมทั้งยังกินสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลง มด ปลวก
นกยูงสืบพันธุ์ในช่วงฤดูแล้งระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนพฤษภาคม โดยนกยูงเพศผู้ สามารถจับคู่สืบพันธุ์กับเพศเมียได้หลายตัว เพศเมียจะทำหน้าที่วางไข่เลี้ยงลูกโดยทำรังบนพื้นดินมีวัสดุรองรับเป็นเศษใบไม้ และแม่นกจะวางไข่กกไข่จะกระทั่งลูกนกยูงฟักออกมาในช่วงต้นฤดูฝนซึ่งมีอาหารอุดมสมบูรณ์สำหรับลูกนก
ปัจจุบันนกยูงไทยอยู่ในสถานะเป็นชนิดพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์ในระดับโลกจากการที่ถิ่นที่อยู่ถูกบุกรุกทำลายเปลี่ยนแปลงไปเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ร่วมทั้งการถูกล่าเพื่อเป็นอาหารหรือเอาขนเป็นเครื่องประดับ และจับเป็นสัตว์เลี้ยง โดยทั่วไปภัยคุกคามในธรรมชาติของนกยูง คือ สัตว์ผู้ล่าหลายชนิด เช่น งูเหลือม งูหลาม อีเห็น ชะมดเช็ด อย่างไรก็ตามภัยคุกคามที่ส่งผลต่อการลดลงของประชากรจำนวนมากนั้น มาจากการสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัยจากการบุกรุกแผ้วถางผืนป่าเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ดังนั้นจากการสำรวจโดย ดร. นิติ สุขมาลย์ และคณะ บ่งชี้ว่าประเทศไทยมีพื้นที่ที่เหมาะสมและสามารถรองรับประชากรนกยูงจำนวนมากลำดับต้น ๆ ของโลก โดยเฉพาะ กลุ่มป่าในจังหวัดพะเยา และผืนป่าห้วยขาแข้งทางตะวันตก
ความผูกผันระหว่างคนกับนกยูงนั้นมีมานานตั้งแต่ยุคก่อนสมัยประวัติศาสตร์ โดยนกยูงทำหน้าที่เป็นเครื่องหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ เครื่องหมายแสดงความสูงศักดิ์ อีกทั้งนกยูงยังถูกนำมาเปรียบเทียบกับมนุษย์ กล่าวคือ นกยูงตัวผู้นำมาใช้แทนบุรุษ ส่วนนกยูงตัวเมียก็นำมาใช้แทนสตรี ที่แสดงความรักต่อกัน
ในวรรณคดีนั้นนกยูงมักจะถูกยกมาใช้แทนถึงความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ แทนความรักของบุรุษและสตรี และบางทีนกยูงยังถูกนำมาใช้ในบาทบาทของสัตว์ที่มีพิษและผู้ที่มีเล่ห์กล ในส่วนของประเพณีความเชื่อนั้นนกยูงนั้นแสดงถึงความสูงศักดิ์ หรือบทบาทของความเป็นกษัตริย์ เป็นสัญญลักษณ์ของพาหนะของเทพเจ้า ที่ยิ่งใหญ่ ความสงบสุข เจริญรุ่งเรือง อีกทั้งยังนำลักษณะและท่าทางการเคลื่อนไหวของนกยูงมาประยุกต์ใช้ในการร่ายรำประกอบพิธีกรรมอันเป็นศิริมงคลและการป้องกันภยันอันตราย หรือแสดงถึงเหตุการณ์ในตำนานพื้นบ้าน และพุทธประวัติ
ปัจจุบันชาวล้านนาโดยทั่วไปยังคงมีความเชื่อว่านกยูงเป็นสัญลักษณ์ของกษัตริย์ เป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ในพุทธศาสนา ประกอบกับกระแสการอนุรักษ์ สืบสานศิลปวัฒนธรรมล้านนา ทำให้เกิดความนิยมการนำสัญลักษณ์นกยูงมาใช้ตกแต่งสถานที่ในงานประเพณีพื้นเมือง งานศิลปกรรม และงานสถาปัตยกรรมล้านนาเพื่อแสดงถึงความ เป็นทิพย์ เป็นสิริมงคล ความเจริญรุ่งเรือง และในส่วนของการดำเนินชีวิตของชาวล้านนาในชนบทที่ต้องทำเกษตรกรรมในพื้นที่รอยต่อชายป่าที่นกยูงออกจากป่ามาหาอาหารในฤดูแล้ง ชาวล้านนาในชนบทจะไม่ล่าหรือทำร้ายนกยูง และพยายามหาวิธีการที่จะอยู่ร่วมกับนกยูงโดยไม่ต้องเบียดเบียนกัน ทำให้ในดินแดน ล้านนาปัจจุบันยังคงมีประชากรนกยูงในธรรมชาติหลงเหลือยู่เป็จำนวนมากเสมือนว่าเป็นฐานที่มั่นสุดท้ายของนกยูงไทยที่ยังคงมีจุดบรรจบของความเชื่อ วิธีชีวิตของผู้คน และการอนุรักษ์ยังขับเคลื่อนไปพร้อม ๆ กัน
วรรณคดีจำนวนมาก เมื่อตัวละคร เดินทางจากสถานที่ใดที่สถานที่หนึ่งเพื่อไปยังจดหมายใดจุดหมายหนึ่ง ป่าจะเป็นฉาของเรื่องราวที่กวีได้นำมาใช้เพื่อเป็นสื่อกลางของการพรรณนาอารมณ์ความรู้สึกของตัวละครพร้อมกับพรรณนาถึงสัตว์ป่านานาชนิดที่พบได้ ในช่วงเวลานั้น และ "นกยูง" ก็จะถูกนำมาเป็นฉากของป่าเพื่อแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ ดังที่สุนทรภู่กล่าวไว้ในเรื่องพระอภัยมณี
จากเรื่องพระอภัยมณีซึ่งประพันธ์โดยสุนทรภู่ การที่สุนทรภู่ได้พรรณนาว่า "นกยูงเป็นฝูงฟ้อน" และ "ที่หุบเขาเหล่าฝูงนกยูงลง" รวมทั้งนำ "นกยูงทอง" เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของนกชนิด ต่าง ๆ ทำให้สันนิษฐานได้ว่า นอกจากเป็นการนำนกยูงเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินเรื่องในป่าบทชมดงแล้ว ก็ยังสะท้อนให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์สมบูรณ์ของป่าในยุคสมัยของกวีด้วยเช่นกัน นอกจากนั้น ในเรื่องรามเกียรติ์ตอนศึกทศพินที่พระพรตกำลังจะได้ยกทัพไปตีเมืองมลิวันก็ยัง ปรากฎการใช้นกยูงเป็นตัวแทนของความอุดมสมบูรณ์ในผืนป่าด้วยเช่นเดียวกัน และเรื่องขุนช้างขุนแผน เป็นที่สังเกตได้อีกประการหนึ่งว่า การที่กวีได้นำ "นกยูง" มาปรากฎในท้องเรื่องนั้น นอกจากต้องการสื่อให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของป่าแล้ว ยังต้องการแสดงถึงความสวยงามของนกยูง ดังกที่กล่าวว่า "นกยูงจับยางแผ่หางฟ้อง" ซึ่งเป็นตอนที่พลายงามได้นางศรีมาลา
ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า ในจำนวนสัตว์ป่าที่กวีใช้มาเป็นหนึ่งในตัวละครของการดำเนินเรื่องในป่าของวรรณคดี แต่ละเรื่องทั้งพระอภัยมณี รามเกียรติ์ ขุนช้างขุนแผน กาพย์พระไชยสุริยา ลิขิตเพชรมงกุฏ และกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง "นกยูง" มักจะถูกเลือกให้ปรากฎในบทชมดงซึ่งเป็นคราวที่ตัวละครกำลังเดินทางอยู่ในป่าด้วย ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ในอดีต "นกยูง" คงเป็นสัตว์ที่พบเห็นได้โดยทั่วไป และยังแสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของป่าเมืองไทยในอดีตได้ด้วย
ลิขิตโองการแช่งน้ำหรือประกาศแช่งน้ำโคลงห้าเป็นบทประพันธ์ขึ้นมาเพื่อให้พราหมณ์อ่านในพระราชพิธีศรีสัจจปานกาลซึ่งเป็นพระราชพิธีที่ปรากฎหลักฐานในกฎมนเฑียรบาลตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาและสืบทอดมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ช่วงรัชสมัยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันนทมหิดโปรดฯ ให้กล่างคำปฎิญาณตนที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามแทนการถือน้ำพิพัฒน์สัตยา
ประวัติความเป็นมาของความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ประการหนึ่งว่า นกยูงได้รับการยกย่องให้เป็นพาหนะของเทพเจ้าที่เมื่อสืบค้นดูแล้วก็ทำให้พบว่าเป็นของพระขันทรกุมาร ที่เป็นเทพเจ้าแห่งการสงครามและความกล้าหาญ จนได้รับการยกย่องว่าเป็น แม่ทัพแห่งเทพเจ้าบนสวรรค์ ดังที่กวีกล่าวว่า "ขนกล้าแกล้วขี่ยูงช่วยดู" ที่หมายความถึงพระขันทกุมารนั่นเอง ซึ่งพระขันทกุมารพระองค์นี้ยังมีศักดิ์เป็นถึงบุตรแห่งพระศิวะและพระนางปารวตีหรือพระแม่อุมา
ส่วนตำนานสัตว์พาหนะของพระนางสรัสวดีนี้ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มหนึ่งเชื่อว่าพาหนะของพระนางสรัสวดีคือนกยูง ส่วนอีกกลุ่มเชื่อว่าเป็นหงส์ แต่อย่างไรก็ตามพบว่า ภาพวาดหรือประติมากรรมของพระนางสรัสวดีมักทรกนกยูงเป็นพาหนะอยู่เป็นประจำ
นกยูงไทยเป็นสัตว์ที่มีถิ่นอาศัยในคาบสมุทรอินโดจีนดังปรากฎรูปนกยูงในแหล่งภาพเขียนสีในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ประตูผ จังหวัดลำปาง และเป็นสัตว์ป่าที่ชาวล้านนาสามารถพบได้ทั่วไปจนชินตาในป่าเขาและบริเวณชายป่าที่ติดต่อกับทุ่งนาของหมู่บ้าน จนถูกนำมาสลักบนไม้เชิงชายเดิมของวิหารวัดศรีปิงเมือง ตำบลลอ อำเภอจุน จังหวัดพะเยา แต่จะสังเกตเห็นว่าความเชื่อเกี่ยวกับนกยูงในยุคก่อนประวัติดศาสตร์และในยุคเริ่มต้นของวัฒนธรรมล้านนานั้น นกยูงเป็นเพียวสัตว์ป่าที่คนในพื้นที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป
ความนิยมใช้รูปนกยูงเป็นสัญลักษณ์แทนองค์กษัตริย์เผยแพร่จากพม่าสู่บ้านเมืองในเขตรัฐฉานของชาวไทยใหญ่ ไทขึน และไทยองซึ่งมีความสัมพันธ์กับรัฐพม่ามาช้านาน ดังปรากฎที่กษัตริย์ในราชวงศ์คองบองของพม่าพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สัญลักษณ์นกยูงแก่เจ้าฟ้าผู้ปกครองเมืองในเขตรัฐฉาน และการฟ้อนแพนหางนกยูงต้อนรับแขกที่จัดขึ้นเฉพาะในหอหลวงของเจ้าฟ้าเมืองเชียงตุงเท่านั้น และเมืองในล้านนาก็ได้รับแนวคิดนี้มาใช้เป็นสัญลักษณ์สื่อถึงกษัตริย์เช่นกัน ภายหลังที่รัฐล้านนาตกเป็นประเทศราชอยู่ภายใต้การปกครองของพม่า ก็จะเห็นรูปนกยูงไม้แกะสลักลงรักปิดทองประดับแก้วจืนอันดงดงาม และสำคัญอย่างยิ่งที่เหนือซุ้มประตูทางเข้าหลักของหอคำ วิหารวัดพันเตา ภายในเวียงเชียงใหม่ปัจจุบัน
ดังนั้นรูปนกยูงจึงถูกใช้สื่อถึงแสงสว่างแห่งปัญญาในคติพุทธแบบพม่า มอญ และไทใหญ่ และมักปรากฎรูปนกยูงในการประดับตกแต่งงานสถาปัตยกรรมทั้งในรูปแบบรูปั้นลอยตัวและนูนสูงฝีมือช่างพม่า มอญ และไทใหญ่ตามซุ้มเหนือประตูและหน้าต่างของมณฑป วิหาร และเจดีย์ในวัดที่สร้างโดยคหบดี ชาวพม่า มอญ และไทใหญ่ที่เข้ามาค้าขายและทำป่าไม้ดินแดนล้านนา ทั้งในพื้นที่เมืองเชียงใหม่ เมืองแม่ฮ่องสอน เมืองลำปางและแพร่ และยังปรากฎลายคำฝีมือช่างล้านนาด้วยเช่นกัน เช่น รูปนกยูงในดวงอาทิตย์คู่กับรูปกระต่ายในรูปดวงจันทร์ในจิตรกรรมฝาผนัง
นกยูงลงมากินผลผลิตชาวบ้าน ทำให้ได้รับความเสียหาย จะทำอย่างไร?
บอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาของนกยูงไทย
พัฒนาแหล่งชุมชน ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ชุมชนมีส่วนร่วมอนุรักษ์นกยูง
นำผลผลิตจากแหล่งชุมชน สร้างผลิตภัณฑ์เสริมสร้างรายได้ คนอยู่ได้ นกยูงอยู่ได้
เครือข่ายชุมชนรักษ์นกยูงไทยและไพรพฤกษ์ บ้านดงเคียน หมู่ที่ 3 ตำบลห้วยยางขาม อำเภอจุน จังหวัดพะเยา ร่วมกับ สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยพะเยา ร่วมจัดกิจกรรมเปิดเทศกาลรำแพน (Lake camp) ประจำปี 2565 ณ อ่างเก็บน้ำห้วยยางขาม อำเภอจุน จังหวัดพะเยา
วันที่ 31 ตุลาคม 2565 ผู้ช่วยศาสตราจารย์น้ำเงิน จันทรมณี รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยพะเยา มอบหมายให้ ดร.ฤทัยภัทร พิมลศรี รองผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ พร้อมด้วย นายนริศ ศรีสว่าง หัวหน้างานศิลปวัฒนธรรมล้านนา และนางสาวณัฐชา กิจจา เจ้าหน้าที่ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมและอนุรักษ์นกยูงไทย เข้าพบ นายวิสูตร บัวชุม ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานเชียงราย
19 ตุลาคม 2564 รองศาสตราจารย์ ดร.ฐิติรัตน์ เชี่ยวสุวรรณ รองอธิการบดีฝ่ายนโยบายและแผน ได้ลงนามสัญญาว่าจ้างบริษัท ซีซีเอส คอร์ปอเรชั่น จำกัด ก่อสร้างอาคารการเรียนรู้และอนุรักษ์นกยูงไทย มหาวิทยาลัยพะเยา โดยเริ่มสัญญาเริ่มงานตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป
ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมและอนุรักษ์นกยูงไทย สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยพะเยา
ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมและอนุรักษ์นกยูงไทย สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยพะเยา